ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ อาณาจักร เครื่องเสียงรถยนต์ ครบวงจร

เราคือ ศูนย์รวม เครื่องเสียงรถยนต์ ทุกชนิด ทุกยี่ห้อ อุปกรณ์เสริมต่างๆ สินค้าทุกชนิดผ่านการตรวจสอบ และมีมาตราฐาน มีใบรับประกันทุกชิ้น มีทีมงานโดยช่างมืออาชีพ ผู้ชำนาญงาน มีประสบการณ์เกี่ยวกับการออกแบบและติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์โดยตรง 10 ปีเต็ม ร้านของเรามีบริการ เครื่องเสียงรถยนต์แบบครบชุด แยกชุด ตามที่ลูกค้าต้องการ มั่นใจได้เลยว่าคุ้มค่าอย่างแน่นอนตอนนี้เรามี Package ดีๆสำหรับท่านที่สนใจ มาแนะนำควรรีบๆเลยนะครับรับรองว่าถูกมากๆเครื่องเสีงรยนต์ทุกยี่ห้อ เป็นเครื่องเสีงรถยนต์ของแท้แน่นอน รับรองการใช้งานทั้งด้านเรื่องคุณภาพตัวสินค้าและคุณภาพด้านเสียง



เครื่องเสียงรถยนต์ลดราคาพิเศษ สั่งตรงจากโรงงานผู้ผลิต ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง จึงมั่นใจได้ว่าท่านจะได้รับสินค้าราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป



การเลือกใช้อุปกรณ์ เครื่องเสียงรถยนต์ ต่างๆตามวัตถุประสงค์

หลักการเลือกใช้ เครื่องเสียงรถยนต์

  หนึ่งในการเลือกใช้อุปกรณ์ระบบเสียงรถยนต์ ก็คือการเลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ของการฟัง อันได้แก่

อุปกรณ์แหล่งต้นเสียง (FrontEnd)

ภาคเล่นเทปคาสเส็ตต์ (Tape Cassette)

   ข้อดี
   - การเล่นเทปแบบกลับด้านเองต่อเนื่องราคาย่อมเยาที่สุด
(Auto Reverse)
   - เทปคาสเส็ตต์ เป็นสื่อบันทึกเสียงราคาถูก
   - เลือกบันทึกได้เองตามความถนัด ด้วยการทำงานที่ไม่ซับซ้อน
   - มีสื่อบันทึกสำเร็จให้เลือกฟังมากที่สุดในท้องตลาด
   ข้อด้อย
   - กลไกการเล่นเทปมีส่วนเคลื่อนไหวมากที่สุด จึงมีปัญหาเมื่อ
ใช้งานระยะยาว
   - คุณภาพของเสียงจากสื่อบันทึกนับว่าแย่ที่สุด
   - เกิดข้อบกพร่องของสื่อบันทึกได้ง่ายสุด เช่น เทปยืด บวมพอง
เมื่อโดนความร้อน แตกหักเสียหายเมื่อโดนกดทับ

   ภาคเล่นแผ่นซีดี (CD: Compact Disc)

  ข้อดี
   - ให้คุณภาพของเสียงจากสื่อบันทึกได้ดีมาก
   - มีแผ่นซีดีมือสองให้เลือกซื้อได้ตามท้องตลาด
   - ไม่มีการเสื่อมถอยของคุณภาพเสียงไม่ว่าจะใช้งานกี่ครั้งก็ตาม
   - ไม่มีส่วนของกลไกแตะสัมผัสแผ่น อายุการใช้งานจึงยาวนานกว่า
   - ราคาย่อมเยา เมื่อเทียบกับคุณภาพเสียงจากสื่ออื่นๆ
และมีความหลากหลายเท่าๆ กับเทปคาสเส็ตต์
  ข้อด้อย
   - อาจมีการกระตุกบ้างในบางครั้งขณะรถเคลื่อนที่บนทางขรุขระ
หรือทางวิบากมากๆ
   - ราคาของสื่อบันทึกแพงกว่าเทปอยู่เล็กน้อย
   - เลือกบันทึกสื่อได้เอง แต่มีการทำงานที่ซับซ้อนกว่า
   - ต้องระมัดระวังในการเก็บรักษาแผ่น เพราะอาจเกิดรอยขีดข่วน
หรือแตกหักเสียหาย
   - ไม่สามารถเชื่อมโยงอุปกรณ์เสียงจากภายนอกผ่านทางภาคเล่นซีดี

ภาคเล่นมินิดิสก์ (MD:Mini Disc)

   ข้อดี
   - ขนาดของมินิดิสก์เล็กกว่าสื่ออื่นๆ พกพาง่าย
   - มีระบบป้องกัน จึงมีเสถียรภาพในการใช้งานดีกว่าแผ่นซีดี
   - ไม่มีส่วนกลไกแตะสัมผัสกับแผ่น อายุการใช้งานจึงยาวนานกว่า
   - เลือกบันทึกสื่อได้เองจากเครื่องเล่นภายในบ้าน
   - คุณภาพเสียงดีกว่าเทปคาสเส็ทมาก
   - ง่ายต่อการบันทึกซ้ำได้เหมือนๆกับเทปคาสเส็ท
   ข้อด้อย
   - เป็นของใหม่ และไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควรในท้องตลาด
โดยเฉพาะในเมืองไทย
   - การบันทึกสื่อใช้เอง จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะที่มีราคาแพง
   - ไม่ค่อยมีสื่อบันทึกสำเร็จจำหน่ายในท้องตลาด
   - คุณภาพเสียงไม่ดีกว่า และไม่ด้อยกว่าแผ่นซีดี
   - ราคาสื่อบันทึกค่อนข้างสูงมาก

ลำโพงรถยนต์ (Speaker)

ลำโพงแบบรวมชิ้น

ข้อดี
- ราคาย่อมเยา เพราะรวมขับเสียงทุ้มและเสียงแหลมไว้ในโครง
เดียวกัน
- สามารถติดตั้งในพื้นที่ที่เดียวกัน
ข้อด้อย
- ไม่สามารถจัดตำแหน่งเสียงภายในรถให้สมบูรณ์ได้
- ไม่สามารถแยกใช้ข้อเด่นของตัวขับเสียงแต่ละแบบ เพราะต้องซื้อ
รวมกัน
- เพราะตัวขับเสียงแหลม (กลาง) ติดตั้งอยู่แกนกลางของเสียงทุ้ม
คุณภาพเสียงที่ได้จึงมักคลุมเคลือ

ลำโพงแบบแยกชิ้น

ข้อดี
- สามารถแยกติดตั้งตัวขับเสียงแหลม และเสียงทุ้มคนละตำแหน่ง
จึงให้สภาพเสียงภายในรถที่สมบูรณ์แบบ
- สามารถเลือกใช้ข้อเด่นของตัวขับเสียงทุ้ม ตัวขับเสียงแหลมอิสระ
คือใช้เสียงทุ้มและเสียงแหลมคนละยี่ห้อ ตามรสนิยมการฟัง
- คุณภาพเสียงสะอาดชัดเจนกว่า
ข้อด้อย
- ราคาสูงกว่า เพราะต้องแยกผลิตคนละส่วน

วูฟเฟอร์และซับวูฟเฟอร์แบบแขวนลอย

ข้อดี
- สามารถติดตั้งได้บนแผงหลัง หรือตำแหน่งอื่นโดยไม่ต้องทำตู้ โดย
ปกติต้นทุนผลิตวูฟเฟอร์และซับวูฟเฟอร์แบบแขวนลอย แตกต่างจาก
ซับวูฟเฟอร์แบบมีตู้เพียงเล็กน้อย
- ต้องการพื้นที่ในการติดตั้งน้อย
• ข้อด้อย
- ถ้าต้องการประสิทธิภาพสุงสุดก็ต้องทำตู้บรรจุอยู่ดี
- ในรถยนต์บางรุ่นที่โครงสร้างไม่แข็งแรงพอ อาจทำให้มีเสียง
กระพือเมื่อเปิดเบสแรงๆ

• วูฟเฟอร์และซับวูฟเฟอร์แบบทำตู้

• ข้อดี
- สามารถออกแบบตู้ให้มีความเหมาะสมทางวิศวกรรมได้อย่าง
สมบูรณ์ วูฟเฟอร์ และซับวูฟเฟอร์แบบตู้จะมีราคาสูงกว่า
- มีข้อมูลทางเทคนิคสำหรับการใช้งานแบบมืออาชีพ
- สะดวกในการสับเปลี่ยนจากรถคันหนึ่งไปติดตั้งในรถคันอื่นๆ
• ข้อด้อย
- ต้องการพื้นที่ที่สมบูรณ์ในการติดตั้ง มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิด
ของตู้
- อาจถูกขโมย หรือหยิบฉวยได้ง่าย ถ้าติดตั้งไม่สมบูรณ์
การขยายกำลังเสียง (Power Amplifier)

• เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ แบบติดตั้งใช้งานภายนอก

• ข้อดี
- สามารถสร้างระดับความดังตามความต้องการของผู้ใช้
ให้พลังต่อเนื่องได้มากกว่า
- สามารถจ่ายพลังเสียงตามความต้องการของตัวขับเสียง
ประสิทธิภาพสูงต่างๆ
- มักมีครอสโอเวอร์ประสิทธิภาพสูงติดตั้งไว้ภายในตัวเครื่อง
• ข้อด้อย
- มักมีราคาสูง บางทีอาจมีราคาสูงกว่าอุปกรณ์แหล่งต้นเสียง
- ต้องการพลังไฟมากกว่าปกติ บางครั้งต้องทำการปรับปรุงระบบ
ไฟของรถเพิ่มเติม
ภาคขยายกำลัง แบบติดตั้งอยู่ภายในอุปกรณ์

แหล่งต้นเสียง (Hi-Power)

การเลือกอุปกรณ์ระบบ เครื่องเสียงรถยนต์

หลักการเลือก เครื่องเสียงรถยนต์

ศักยภาพของระบบเสียงรถยนต์ทุกระบบ มักเริ่มที่อุปกรณ์ต้นเสียง งบประมาณเกินกว่าครึ่งหนึ่งใน ระบบพื้นฐานจึงมักเริ่มที่อุปกรณ์ต้นเสียงหรือแหล่งต้นเสียง อีกนัยหนึ่งก็คือควรเลือกอุปกรณ์ประกอบ ในระบบที่ไม่ควรแพงไปกว่าราคาของอุปกรณ์ต้นเสียง ถ้าต้นเสียงแย่อย่าหวังว่าจะเอาลำโพงคู่ละสี่ห้า หมื่นมาแก้ปัญหา เพราะยิ่งแก้ยิ่งบานปลาย

เลือกซื้อ เครื่องเสียงรถยนต์ ได้ที่ไหน-อย่างไร?


• บทสรุปของทุกระบบเสียงรถยนต์มักมีปลายทางอยู่ที่การเลือกชุด เลือกระบบ และแม้จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มากเท่าไร ก็ตาม แต่การเลือกระบบเสียงที่ตรงกับความต้องการกลับศึกษาได้ยาก เย็น เพราะระดับของระบบเสียงรถยนต์สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ 5,000 บาท ไปจนถึง 500,000 บาท ความแตกต่างที่หลากหลายนี่เองคือช่อง ว่างที่ทำให้เกิดการฉกฉวยทางการค้า

หลายระบบถูกเสนอขายด้วยปริมาณของชุดอุปกรณ์ที่มากกว่า ในงบ ประมาณของระบบที่เท่าๆ กันกับระบบที่มีจำนวนอุปกรณ์น้อยกว่า ซึ่งก็ สามารถจูงใจผู้ซื้อได้มาก ด้วยความคิดที่ว่าได้ของเยอะกว่าในราคาที่ถูก กว่า โดยมิได้ฉุกคิดเลยว่าจะได้ระบบที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ประสิทธิ ภาพต่ำๆ และตามมาด้วยปัญหาให้แก้กันไม่ตกอีกมากมาย
ถ้าผู้ซื้อคำนึงถึงหลักเศรษฐศาสตร์กันเล็กน้อยก็จะข้ามขั้นตอน ความโลภหรือความรู้สึกเป็นผู้ได้เปรียบนี้ไปได้ และมีโอกาสสัมผัสกับ ระบบเสียงที่มีประสิทธิภาพคุ้มค่าคุ้มราคา และไม่มีปัญหามากวนใจใน ภายหลัง

เพราะสินค้าทุกตัวที่จำหน่ายจะต้องมี ต้นทุน + ค่าใช้จ่ายทางการ ตลาด + ค่าโสหุ้ยในการดำเนินกิจการ ถ้าสินค้าที่มีราคาถูกนั้นมาจาก องค์ประกอบของ ตุ้นทุน + ค่าโสหุ้ยในการดำเนินกิจการ โดยไม่มีค่าใช้ จ่ายทางการตลาด (เช่นค่าขนส่ง โฆษณา ภาษี ฯลฯ) ก็ถือได้ว่าเป็นของ ถูกที่เปี่ยมคุณค่า

แต่ถ้าหากสินค้าที่มีราคาถูกนั้นมาจากต้นทุนการผลิตต่ำๆ ละก็ ปัญหาความไม่คุ้มค่าเกิดขึ้นทันที เพราะค่าใช้จ่ายทางการตลาด+ค่า โสหุ้ยในการดำเนินกิจการ จะมีอัตราที่แน่นอนสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภท นั้นๆ และเป็นที่มาของห่วยๆ ที่หลายท่านกำลังคิดเพียงว่ามันถูกกว่า ถ้าจะยกตัวอย่างสินค้าราคาถูกให้เห็นชัดเจน ก็ยกตัวอย่างเช่น ท่านสามารถซื้อนาฬิกายี่ห้อแพงๆ ได้ในราคาหน้าโรงงาน (ไม่มีภาษี ไม่มีค่าขนส่ง ไม่มีค่าโฆษณา ฯลฯ) จึงจะถือว่าเป็นของถูกที่สมบูรณ์แบบ สินค้าใหม่มีประกัน

• สินค้าใหม่หรือสินค้ามีประกัน ถือเป็นอุปกรณ์ระบบเสียงรถยนต์ที่ เลือกได้หลากหลาย และตรงกับความต้องการได้ง่าย และยังมีความทัน สมัยทันยุค เช่นเล่น MP3 ได้, มีระบบครอสโอเวอร์ภายในตัวเพา- เวอร์แอมป์

เลือกซื้อจากร้านติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์

• การเลือกซื้อสินค้าเครื่องเสียงรถยนต์จากร้านติดตั้งนั้น ผู้ซื้อควรทำ การบ้านให้เรียบร้อยเสียก่อน ได้แก่การกำหนดเป้าหมายของระบบ งบ ประมาณโดยคร่าวๆ และสมดุลของระบบกับงบประมาณ ดังตาราง ประกอบ (เป็นตารางเกณฑ์โดยเฉลี่ย ตัวเลขจริงอาจคลาดเคลื่อนไปบ้าง ตามความเหมาะสม)

เมื่อสามารถวางเป้าหมายของระบบได้แล้วก็เป็นเรื่องของการ หาความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบ เช่น ในระบบที่มีวิทยุ ซีดี+ลำโพงหน้า+ลำโพงหลัง ก็ให้นำงบที่เหมาะสมมาหาร 2 ก่อน ก็จะได้ส่วนของงบตัววิทยุซีดีอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาท ในส่วนของงบลำโพงนั้นให้เน้นงบที่เป็นลำโพงคู่หน้าประมาณ 3 ใน 4 (หรือคู่หน้า 7,500 บาท คู่หลัง 2,500 บาท) จากนั้นจึง เลือกยี่ห้อหรือรุ่นของวิทยุซีดีที่มีค่าตัวอยู่ในงบดังกล่าวไว้ประมาณ 2-3 ยี่ห้อ/รุ่น เช่นกันกับยี่ห้อ/รุ่นของลำโพงคู่หน้า/คู่หลัง เพื่อที่ว่าเวลาเข้าร้านติดตั้งแต่ละร้านที่มีสินค้าไม่เหมือนกันจะได้ เปรียบเทียบกันได้ และควรเผื่องบสำหรับค่างานติดตั้งไว้ประมาณ 10-20% ด้วย เพราะบางร้านอาจจำหน่ายสินค้าในแบบไม่รวมค่า ติดตั้ง

ศักยภาพจริงของระบบเสียงรถยนต์ทุกระบบ/แบบมักเริ่มที่ อุปกรณ์ต้นเสียง เช่น วิทยุ, ซีดี, เทปดิจิตอล, วีซีดี ดังนั้นงบ ประมาณเกินกว่าครึ่งหนึ่งในระบบพื้นฐานจึงมักเริ่มที่อุปกรณ์ต้น เสียงหรือแหล่งต้นเสียง

หรืออีกนัยหนึ่งก็คือควรเลือกอุปกรณ์ประกอบในระบบที่ไม่ควร แพงไปกว่าราคาของอุปกรณ์ต้นเสียง เช่น ใช้วิทยุซีดีในระดับ ~10,000 บาท ก็ไม่ควรซื้อลำโพงที่แพงกว่าราคานี้มาใช้ น่าจะไป ได้ดีกับลำโพงในระดับ 7,000-8,000 บาทมากกว่า

อย่าลืมว่าเสียงทุกๆ เสียงที่ผ่านปรีแอมป์, ครอสโอเวอร์, อี- ควอไลเซอร์ และเพาเวอร์แอมป์ไปจนถึงผ่านออกลำโพง จะมี ต้นทางมาจากอุปกรณ์ต้นกำเนิดเสียงนี้ ดังนั้นถ้าต้นเสียงห่วยแล้ว ละก็ อย่าได้หวังว่าจะเอาลำโพงแพงๆ คู่ละสี่ห้าหมื่นมาแก้ปัญหา เพราะยิ่งแก้ก็ยิ่งบานปลาย

เป้าหมายระบบงบที่เป็นไปได้ (บาท) งบที่เหมาะสม (บาท) วิทยุซีดี + ลำโพงหน้า + ลำโพงหลัง 10,000 - 30,000 20,000 วิทยุซีดี + แอมป์ 4 แชนแนล + ลำโพงหน้า + ลำโพงหลัง 20,000 - 50,000 40,000 วิทยุซีดี + แอมป์ 5 แชนแนล + ลำโพงหน้า + ลำโพงหลัง + ซับวูฟเฟอร์ 40,000 - 70,000 60,000 วิทยุซีดี + แอมป์ 5 แชนแนล + ลำโพงหน้า + ลำโพงหลัง + ซับวูฟเฟอร์ + การแก้ปัญหาอคูสติก 80,000 - 140,000 120,000

เลือกหาจากนิตยสารเครื่องเสียงรถยนต์ ต่างๆ

• นิตยสารเกี่ยวกับเครื่องเสียงรถยนต์เป็นอีกแหล่งสินค้าสำหรับผู้ที่ กำลังเลือกหาสินค้าตัวใหม่ๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลที่ค่อนข้างทัน สมัย มีภาพประกอบชัดเจน และบางครั้งยังมีคำแนะนำที่พอเป็น ประโยชน์กับการเลือกซื้ออีกด้วย

เลือกซื้อจากร้านขายสินค้าเครื่องเสียงรถยนต์ ลดราคา

• การเลือกซื้อสินค้าเครื่องเสียงรถยนต์จากร้านจำหน่ายสินค้าลด ราคา มีข้อควรระวังเกี่ยวกับการรับประกัน และสินค้าที่ตกยุคสมัย (ยกเว้นเป็นความต้องการจริงๆ ของผู้ซื้อ/ผู้ใช้) ไม่ควรเลือกซื้อสินค้า ลดราคาพิเศษที่ไม่มีกล่องบรรจุ และไม่มีใบรับประกัน เพราะมีโอกาส เป็นสินค้าย้อมแมวมากกว่าเป็นสินค้าลดราคาพิเศษ (แต่ถ้าเป็นสินค้า มือสองที่บอกกันก่อนก็แล้วไป)

การเลือกซื้อเครื่องเสียงรถยนต์จากร้านขายสินค้าลดราคา ควรมี ข้อมูลจำเพาะของอุปกรณ์ชิ้นนั้นๆ รวมถึงคู่มือไว้พิจารณาอย่าง รอบคอบ เนื่องจากเป็นรูปแบบของการซื้อแบบไม่รับคืน ถ้าซื้อผิด วัตถุประสงค์ก็ต้องทนใช้ไปจนกว่าจะพังไปข้างหนึ่ง

เลือกซื้อโดยการสั่งสินค้าเครื่องเสียงรถยนต์ ทางไปรษณีย์หรืออินเตอร์เนต

• อีกช่องทางหนึ่งของการเลือกซื้อเครื่องเสียงรถยนต์ใหม่ๆ คือ การ สั่งซื้อทางไปรษณีย์ หรือทางอินเตอร์เนต เพียงแต่มันจะดูเป็นช่องทาง ของนักเล่นเครื่องเสียงรถยนต์มืออาชีพเสียมากกว่า เนื่องจากต้องมี ความรู้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับอุปกรณ์ชิ้นนั้นว่าจะใช้อย่างไร ใช้เพื่ออะไร และต้องติดตั้งด้วยวิธีไหน เป็นช่องทางที่ถ้าหากไม่รู้อย่างลึกซึ้งแล้วไม่ ควรเสี่ยง

สินค้าเครื่องเสียงรถยนต์ มือสอง

• สินค้ามือสองนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของหมวดสินค้าเทคโนโลยี ทั้งเครื่องเสียงรถยนต์ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เครื่องเล่นเกม เพราะ สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงๆ ได้ในราคาที่ย่อมเยา กว่า แต่ก็ต้องเสี่ยงกับสินค้าที่ตกยุค ถ้าหากมีข้อมูลประกอบการเลือก ซื้อไม่มากพอเพียง

คุณค่าของอุปกรณ์เครื่องเสียงรถยนต์ที่ต้องคำนึง

1. ต้นทางของเสียง นั่นคือการเลือกอุปกรณ์แหล่งต้นเสียง ที่มีคุณภาพของการให้เสียงที่ดีที่สุด และสนองตอบการใช้งานที่ราบรื่น เช่น มีภาครับ FM ภายในเครื่องที่ให้คุณภาพของเสียงได้ดีกว่า AM หรือคลื่นสั้นต่างๆ หรือมีภาคเล่นซีดีที่ให้คุณภาพเสียงได้ดีกว่าเทปคาสเส็ตต์ และใช้งานได้อย่างสะดวกเมื่อเทียบกับ MD (Mini Disc)ที่เสียงดีแต่หาแผ่นเล่นได้ยาก ต้องบันทึกเอาเองจากแหล่งเสียง คุณภาพดีๆ อีกที
   2. กำลังทางเสียง เป็นการเลือกใช้การขยายความดังเสียง เพื่อให้ เพียงพอต่อการแจกแจงรายละเอียดเสียงในระบบพื้นฐาน 4 ลำโพงนั้น กำลังขับเริ่มต้นที่ 25 วัตต์ต่อ 1 ชุดลำโพง ก็พอเพียงสำหรับการฟัง แต่หากต้องการความไพเราะด้วยก็ต้องเริ่มต้นกันที่ 50 วัตต์ต่อ 1 ชุดลำโพง (4 ลำโพงก็เท่ากับ 200 วัตต์)
   หากต้องการความหนักแน่นของเสียงด้วยก็ต้องเพิ่มอีก 300 วัตต์ เพื่อขับชุดเสียงความถี่ต่ำ (ซับวูฟเฟอร์) ความเหมาะสมเหล่านี้ผู้ซื้อควรเป็นผู้กำหนด
   3. ความสามารถในการปรับเสียง เป็นความสามารถควรมีอยู่ในระบบเสียงรถยนต์ทุกระบบ ด้วยความแตกต่างกันของลักษณะห้อง-โดยสารของรถแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อที่ไม่เหมือนกัน ระบบที่มีความสามารถในการปรับเสียงได้มากกว่าก็สามารถสร้างสภาพเสียงที่ไพเราะชวนฟังได้สูงกว่าตามไปด้วย
   4. ระบบป้องกันการโจรกรรม อาจเป็นความสามารถที่หลายๆท่านมองข้าม แต่กลับเป็นคุณค่าที่น่าพิจารณามากที่สุด โดยเฉพาะในส่วนของอุปกรณ์แหล่งต้นเสียงที่ติดตั้งไว้บริเวณแผงหน้าปัดรถ ปัจจุบันระบบถอดแผงหน้ากากออกถือเป็นระบบที่มาตรฐาน และมีคุณค่าในการป้องกันการโจรกรรมได้สมบูรณ์แบบที่สุด (ถ้าใช้งานมัน อย่างจริงจัง)

เทคนิค เครื่องเสียงรถยนต์ (ตอนที่ 4)

เทคนิค เครื่องเสียงรถยนต์

ตัวทำให้เกิดเสียง (Speaker)

ตัวทำให้เกิดเสียง (Speaker) หรือ ลำโพงรถยนต์

 

     ตัวทำให้เกิดเสียงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองจากแหล่งต้นเสียงเพราะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณคลื่นต่างๆ จากเพาเวอร์แอมป์ให้กลายเป็นคลื่นเสียง
     ใช้หลักการทำงานที่เป็นเชิงกลที่แปรเปลี่ยนไปตามสัญญาณคลื่น จากเพาเวอร์แอมป์ เรียกว่า ‘ลำโพง’ และเพราะหลักการทำงานที่เป็นเชิงกลนี้เอง ทำให้มีการแยกแยะลำโพงออกเป็นหลายส่วนประกอบ และมีชื่อเรียกขานที่แตกต่างกันออกไป
    - ซูเปอร์ทวีตเตอร์ (Super Tweeter) ขับเสียงในย่านความถี่ สูงมากๆ เพื่อแบ่งเบาภาระของทวีตเตอร์ อีกทั้งยังช่วยให้ลำโพงเสียง แหลมทำหน้าที่ขับเสียงแหลมในย่านนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สูงสุด
    การขับเสียงแหลมที่เกินคุณสมบัติเสียงที่เปล่งออกมาจะเกิด ฮาร์โมนิคมากมาย ทำให้เสียงแตกพร่า ฟังแล้วเกิดความรำคาญลำโพงซูเปอร์ทวีตเตอร์โดยทั่วไป มีรูปร่างเป็นวงกลมขนาดเล็ก
    - ทวีตเตอร์ (Tweeter) รับหน้าที่ขับเสียงในย่านความถี่สูงรองจากซูเปอร์ทวีตเตอร์ โดยทวีตเตอร์ทั่วไปมีขนาดกะทัดรัด และสามารถออกแบบเป็นกรวยหรือโดมก็ได้ บางรุ่นเป็นแบบริบบอนหรือแผ่นไดอะแฟรม ขณะที่บางรุ่นก็เป็นฮอร์นขนาดเล็กสำหรับใช้ในรถยนต์
     - มิดเรนจ์ (Midrange) รับหน้าที่ขับเสียงในย่านความถี่ กลางๆ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-5 นิ้ว
    - วูฟเฟอร์ (Woofers) รับหน้าที่ขับเสียงในย่านความถี่ต่ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้วขึ้นไป บางรุ่นทำเป็นรูปวงรี
ขนาดมาตรฐาน 6x9 นิ้ว
    - ซับวูฟเฟอร์ (Subwoofers) รับหน้าที่ขับเสียงในย่านความถี่ ต่ำมากๆ ตั้งแต่ 80 เฮิร์ตซ์ ลงไปจนถึงความถี่ต่ำสุด มีขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ 8-18 นิ้ว ปัจจุบันมีลำโพงหลายรุ่นหลายแบบ ตามแต่ความเหมาะสม และรูปแบบการนำไปติดตั้งที่สามารถแยกแยะได้ดังนี้
    - ลำโพงฟูลเรนจ์ (Full Range) เป็นลำโพงที่สามารถ ขับเสียงในทุกย่านความถี่ ตั้งแต่ความถี่ต่ำไปจนถึงความถี่สูงในตัวขับ
เพียงตัวเดียว
     - ลำโพง 2 ทาง (Two Way) เป็นลำโพงที่ประกอบด้วย มิดวูฟเฟอร์ 1 ตัว และทวีตเตอร์อีก 1 ตัว มีการตัดแบ่งความถี่แบบ
คร่าวๆ เพื่อป้อนความถี่ที่เหมาะสมให้กับมิดวูฟเฟอร์และทวีตเตอร์ ลำโพง 2 ทาง มีผู้ผลิตออกจำหน่ายมากมาย บางรุ่นใช้ทวีตเตอร์ วางอยู่บนมิดวูฟเฟอร์ในแนวแกนเดียวกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
โคแอ็คเชียล (Coaxial) โดยแยกวอยซ์คอยล์คนละชุด
     - ลำโพง 2 ทางแยกชิ้ (Two Way Component) เป็น ลำโพงที่ประกอบด้วยมิดวูฟเฟอร์ 1 ตัวและทวีตเตอร์ 1 ตัว แต่มี
ตัวตัดแบ่งความถี่ที่มีประสิทธิภาพสูงแยกเป็นกล่องต่างหาก เพื่อแยก ป้อนความถี่ที่เหมาะสมให้กับมิดวูฟเฟอร์/ทวีตเตอร์ โดยสามารถแยก ติดตั้งมิดวูฟเฟอร์และทวีตเตอร์ในตำแหน่งที่แตกต่างกันได้
     - ลำโพง 3 ทาง (Three Way) เป็นลำโพงที่ประกอบด้วย มิดวูฟเฟอร์ 1 ตัว, มิดเรนจ์ 1 ตัว และทวีตเตอร์ 1 ตัว รวมเป็น
ลำโพงชนิด 3 ทาง แต่ละตัวรับหน้าที่ขับความถี่แยกกัน รุ่นที่ใช้ ทวีตเตอร์/มิดเรนจ์วางอยู่บนตัวมิดวูฟเฟอร์ในแนวแกนเดียวกัน
เรียกว่าไตรแอ็คเชียล (Triaxials)
     - ลำโพง 3 ทางแยกชิ้น (Three Way Component)
เป็นลำโพงที่ประกอบด้วยมิดวูฟเฟอร์ 1 ตัว มิดเรนจ์ 1 ตัวและ ทวีตเตอร์ 1 ตัว แต่มีตัวตัดแบ่งความถี่ที่มีประสิทธิภาพสูงแยกเป็น
กล่องต่างหาก เพื่อแยกป้อนความถี่ที่เหมาะสมให้กับมิดวูฟเฟอร์/มิดเรนจ์/ทวีตเตอร์ โดยสามารถแยกติดตั้งมิดวูฟเฟอร์, มิดเรนจ์และทวีตเตอร์ในตำแหน่งที่แตกต่างกันได้
     หลากแนวคิดกับการผลิตลำโพง
• เมื่อนึกถึงระบบเสียงในรถยนต์แล้ว ลำโพงดูจะเป็นอุปกรณ์ที่ถูกยกย่องหรือถากถางได้ง่าย เพราะเป็นอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่ให้เสียงออกมา จึงคล้ายเป็นตัวชี้นำหรือดัชนีชี้วัดคุณภาพเสียงทั้งระบบการเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและตัวลำโพงเองจึงเป็นเรื่องที่น่าติดตาม
     การออกแบบลำโพงสำหรับการใช้งานในรถยนต์ มักต้องพึ่งพา เทคโนโลยีขั้นสูงอยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้มีน้ำหนักเบาแต่มี ความแข็งแกร่งพอเพียง และยังต้องทำให้ได้ผลการตอบสนองของ เสียงที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
     วัสดุหลากหลายชนิดจึงถูกค้นคิดขึ้นเพื่อนำมาประกอบเป็นลำโพงรถยนต์ ทั้งแบบซับวูฟเฟอร์, วูฟเฟอร์, มิดเรนจ์ และทวีตเตอร์ วัสดุประเภทไตตาเนียมถูกคิดค้นมาเพื่อใช้กับทวีตเตอร์หรือมิดเรนจ์ เนื่องจากให้เสียงแหลมได้เฉียบคม ทนทานต่อการให้เสียง ติดตั้งง่าย
และไม่เกะกะ
     การติดตั้งลำโพงในรถยนต์โดยที่ไม่ใส่ใจอะไรมากมาย มักลงตัวที่ลำโพงในแบบโคแอ็คเชียล หรือไตรเอคเชียล เพราะติดตั้งลำโพง เพียงครั้งเดียว ก็เหมือนกับการติดตั้งลำโพงทั้ง 2 หรือ 3 ประเภทไว้ด้วยกัน
     หมายถึงในช่องลำโพงขนาด 5 หรือ 6 นิ้ว สามารถติดตั้งลำโพงทั้งหมดไว้ในช่องเดียวกัน และให้ความสะดวกสบายในการเชื่อมโยงสายลำโพงที่ทำเพียงครั้งเดียว แต่ความสะดวกสบายเหล่านั้นไม่ได้ให้ผลดีกับคุณภาพเสียง เพราะตำแหน่งเสียงต่างๆ ถูกบังคับผิดกับการเลือกใช้ลำโพงแบบแยกชิ้น 2 หรือ 3 ทาง ที่สามารถกำหนดทิศทางที่มาของแต่ละเสียงได้อิสระ ทำให้โฟกัสรวมของเสียง ในห้องโดยสารมีผลลัพท์ที่ดีกว่า หากแต่ก็มีความยุ่งยากมากกว่า
เล็กน้อย
     นอกจากนี้แล้ว ลำโพงแบบแยกชิ้น 2 หรือ 3 ทาง มีตัวดัดแปลง/ตกแต่งเสียงหรือครอสโอเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าทำหน้าที่แบ่งย่านเสียงให้เหมาะสมสำหรับวูฟเฟอร์, มิดวูฟเฟอร์, มิดเรนจ์
และทวีตเตอร์
     โดยการเชื่อมต่อสายลำโพงจากครอสโอเวอร์ไปยังมิดวูฟเฟอร์,มิดเรนจ์ และทวีตเตอร์ ทำให้ได้คุณภาพเสียงที่สมบูรณ์กว่าลำโพงแบบโคแอ็คเชียลหรือไตรแอ็คเชียล แต่ในรถยนต์บางรุ่นบางยี่ห้อนั้นการติดตั้งลำโพงแบบโคแอ็คเชียลอาจสามารถทำให้การแผ่กระจายของเสียงครอบคลุมได้ทั้งห้องโดยสาร

 

เทคนิค เครื่องเสียงรถยนต์ (ตอนที่ 3)

เทคนิค เครื่องเสียงรถยนต์

การขยายกำลังเสียง (Power Amplifier)

  อุปกรณ์ที่อยู่ในองค์ประกอบการขยายกำลังเสียงนั้น ในปัจจุบัน มีให้เห็นอยู่ด้วยกัน 2 แบบหลักๆ ได้แก่

    ภาคขยายกำลังสูงในวิทยุซีดี

เป็นอุปกรณ์ย่อยที่ประกอบเอาไว้ในวิทยุซีดี มีรูปลักษณ์การทำงานที่เป็น”ไอซี”แบบหลายขาต่อ และมีการบริดจ์เพื่อเพิ่ม กำลังขยายให้สูงขึ้น ปัจจุบันสามารถทำกำลังวัตต์สูงสุดได้ถึง 50-60 วัตต์

     เพาเวอร์แอมป์รถยนต์

เป็นอุปกรณ์เพิ่มกำลังทางเสียงให้เพียงพอต่อความต้องการฟัง โดยจะมีมาตรวัดกำลังขับที่เป็น RMS จึงให้กำลังทางเสียงที่ครบถ้วน สมบูรณ์ระดับไฮไฟเดลิตี้ แตกต่างกับภาคขยายกำลังสูงที่มีในวิทยุซีดี เพราะมักใช้มาตรวัดกำลังขับเป็น Peak
     มีลักษณะการออกแบบแตกต่างกันไปเป็น 2 แชนแนล,4 แชนแนล, 5 แชนแนล, 5.1 แชนแนล, 6 แชนแนล, 7.1 แชนแนล,
8 แชนแนล ตามที่ผู้วางระบบต้องการเลือกใช้งาน ปัจจุบันมีการออกแบบเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ไบโพล่าร์ เป็นตัวขยาย และใช้หลอดสุญญากาศ และแบบผสมร่วมระหว่างหลอดสุญญากาศกับทรานซิสเตอร์ โดยมีการทำงานทั้งคลาส-เอ,
คลาส-เอบี, คลาส-ดี และคลาส-ที ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม
     ปัจจุบัน เพาเวอร์แอมป์หลายรุ่นหลายยี่ห้อ มีการติดตั้ง ภาคการจัดการเสียงต่างๆ มาให้ด้วย เช่น มีครอสโอเวอร์ในตัว, มีตัวปรับตัดคลื่นซับโซนิค, มีตัวปรับเฟสเสียง และมีวงจรป้องกัน ความเสียหายจนมีเสถียรภาพการทำงานที่เยี่ยมยอด

     ระดับการทำงานของเพาเวอร์แอมป์รถยนต์

คนทั่วไปมักคิดว่าเพาเวอร์แอมป์จะให้การทำงานเต็ม 100% เมื่อป้อนสัญญาณเข้าไป แต่ในความจริงเพาเวอร์แอมป์มีการสลาย
กำลัง (ในรูปแบบของความร้อน) และมีความผิดเพี้ยนในระดับ สัญญาณเสียงเป็น 2 ปัจจัยหลักที่มีผลกับประสิทธิภาพทำงานของ เพาเวอร์แอมป์
    การออกแบบวงจรเพาเวอร์แอมป์จึงต้องเลือกระดับชั้นในการ ทำงานของเพาเวอร์แอมป์ และแต่ละระดับชั้นนั้นก็มีคุณสมบัติที่เป็น ประสิทธิภาพเฉพาะตัว
    - Class A ถูกกำหนดไว้เพื่อคุณภาพของเสียงที่สูงสุด แต่ด้วย เหตุที่มันมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นทรานซิสเตอร์ทั้งหมด เพาเวอร์แอมป์ คลาส-เอจึงไร้ประสิทธิผลและร้อนในขณะทำงาน แม้ในขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ทรานซิสเตอร์เอาท์พุ ก็ยังคงมีกระแสไหลผ่านตัวมันตลอด กระแสที่ไหลผ่านตลอดเวลา นี้เองที่ทำให้เกิดความร้อนโดยไม่จำเป็น และสูญเสียพลังงานไป อย่างมาก เพาเวอร์แอมป์ในยุคหลังๆ จึงมักใช้วงจรคลาส-เอที่เป็นวงจรผสม
ของ Class A/Class AB เพื่อลดปัญหาความร้อน
    - Class AB เป็นการออกแบบที่ยอมให้เอาท์พุททรานซิสเตอร์ มีกระแสไหลผ่าน ขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ในระดับต่ำมากๆ จึงให้ประสิทธิผลที่มากกว่าคลาส-เอ โดยที่มีความผิดเพี้ยนต่ำและมีความน่าเชื่อถือสูง
    - Class D เป็นการใช้เอาท์พุทรานซิสเตอร์ทำงานแทนสวิตช์ เพื่อควบคุมการป้อนจ่ายกำลัง โดยทรานซิสเตอร์จะหยุดทำงานเมื่อมี แรงดันไฟปริมาณมากๆ ตกคร่อมอยู่ที่ตัวมัน วงจรครลาส-ดีจึงให้ประสิทธิผลสูงสุด การทำงานมีความร้อนต่ำสุด และให้การไหลของกระแสได้มากกว่าวงจรคลาส-เอบี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ดีจะมีความผิดเพี้ยนสูงกว่าคลาส-เอบี เนื่องจากการปิด/เปิดอย่างรวดเร็วของทรานซิสเตอร์ แต่ก็มักเกิดขึ้น ที่ย่านความถี่สูง ดังนั้นโดยปกติมักจะใช้การกรองความถี่ให้ผ่านเฉพาะ
ย่านความถี่ต่ำมาใช้งาน
    - Class T เป็นการใช้การจัดเรียงคลื่นเสียง โดยใช้ข้อเด่นของ วงจรคลาส-เอบี ผสมเข้ากับประสิทธิภาพทางกำลังที่สูงและการ ทำงานที่มีความร้อนน้อยของคลาส-ดี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ที จึงสามารถให้กำลังวัตต์ที่สูงกว่าเป็น 2-4 เท่าตัว เมื่อเทียบกัน
ในขนาดเท่ากันของเพาเวอร์แอมป์คลาส-เอบี

เทคนิค เครื่องเสียงรถยนต์ (ตอนที่ 2)

เทคนิค เครื่องเสียงรถยนต์

ปรีแอมป์รถยนต์ ปรับตั้งเสียงได้

(Pre-Amp/Eq/Parametric/Tone/Cross)

เป็นอุปกรณ์ที่มักมีขนาดความสูงเป็น DIN สามารถติดตั้งไว้ด้านล่างตัววิทยุซีดี หรือขนาดรูปทรงอื่นตามการออกแบบมีคุณลักษณะสำคัญเรื่องการขยายระดับสัญญาณเสียงและสามารถปรับตั้งเสียงได้จากปุ่มปรับเสียง 3-4 ปุ่ม (โทนคอนโทรล), 5-7 ปุ่ม (อีควอไลเซอร์), ปรับความถี่กลางแต่ละปุ่มได้อิสระ(พาราเมตริค) รวมถึงในบางเครื่องยังมีภาคตัดแบ่งเสียง สำหรับ
ซับวูฟเฟอร์และ/หรือสำหรับชุดกลาง-แหลมหน้าหลัง

ครอสโอเวอร์แบ่งเสียง 2/3/4 ส่วน (Crossover 2/3/4 way)

เป็นอุปกรณ์ที่อาจมีขนาดความสูงเป็น DIN หรือขนาด Half A4หรือขนาดอื่นตามการออกแบบ มีคุณลักษณะสำคัญในเรื่องการแบ่งส่วนความถี่เสียง เพื่อการจัดระบบเสียงในประเภทต่างๆ เช่น ไบแอมป์, ไตรแอมป์, ควอดแอมป์ รวมถึงอาจมีคุณลักษณะในตัดคลื่นซับโซนิค, การปรับเลื่อนระดับเฟสเสียง, การปรับเบสโมโน/สเตอริโอ หรืออื่นๆ ตามการออกแบบ

กราฟิคอีควอไลเซอร์ (Graphic Equalizer)

เป็นอุปกรณ์ที่มักมีขนาดประมาณกระดาษ A4 หรือขนาดอื่นๆตามการออกแบบ มีคุณลักษณะสำคัญในเรื่องการปรับตั้งคลื่นความถี่ในระดับ ออคเตป (15 แบนด์), 1/3 ออคเตป (30 แบนด์),1/6 ออคเตป (60 แบนด์) โดยสังเกตได้จากจำนวนปุ่มปรับระดับ
เพิ่ม/ลดความถี่ที่ปรากฏบนเครื่อง ซึ่งในการออกแบบอื่นๆ อาจรวมถึงคุณลักษณะที่เป็นการแบ่งคลื่นเสียง, การตัดคลื่นซับโซนิค,การปรับเลื่อนระดับเฟสเสียง ตามความเหมาะสม
อิเล็กทรอนิกส์-ครอสโอเวอร์
ครอสโอเวอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หลักในการแบ่งย่านความถี่ ออกเป็นส่วนๆ จะเป็นกี่ย่านความถี่ก็ตามแต่งานออกแบบ
และมักเรียกรวมกันว่าเป็นครอสโอเวอร์ สำหรับอิเล็กทรอนิกส์-ครอสโอเวอร์นั้นจะทำงานได้โดยอาศัยแรงดันไฟที่ป้อนเข้าไปในตัวมัน เหมือนเพาเวอร์แอมป์ และถูกต่ออยู่ระหว่างเพาเวอร์แอมป์กับวิทยุซีดี หรือต่อหลังจาก
ปรีแอมป์
     ถ้าใช้ครอสโอเวอร์แบบ 2 ทาง ก็จะต้องใช้เพาเวอร์แอมป์ขับเสียง ย่านสูงหนึ่งเครื่อง (2 แชนแนล) และใช้เพาเวอร์แอมป์ขับเสียง ย่านต่ำอีกหนึ่งเครื่อง (2 แชนแนล) และเรียกกันว่าเป็นระบบ
ประเภทไบแอมป์
     อิเล็กทรอนิกส์-ครอสโอเวอร์ที่ใช้งานในขั้นมืออาชีพจะสามารถ ปรับจุดตัดความถี่ได้อย่างต่อเนื่อง จากจุดตัดค่าหนึ่งไปยังอีกค่าหนึ่ง เช่นจาก 50 เฮิร์ตซ์ ถึง 400 เฮิร์ตซ์ ซึ่งในย่านระหว่างนี้เราสามารถ เปลี่ยนจุดตัดไปได้ตามลำดับ สามารถช่วยแก้ปัญหาในหลายๆ ด้าน ได้เป็นอย่างดี

เทคนิคเครื่องเสียงรถยนต์ (ตอนที่ 1)

ระบบเสียงเครื่องเสียงรถยนต์

ระบบเสียงรถยนต์มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วนหลัก คือ แหล่งต้นเสียง, การจัดการเสียง, การขยายกำลังเสียง และตัวทำให้เกิดเสียง ซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยและอุปกรณ์ส่วนควบ (Accessories) อีกมากมาย เช่น สายและหัวขั้วต่อต่างๆ

แหล่งต้นเสียง (Head Unit) ของระบบเครื่องเสียงรถยนต์

• เป็นองค์ประกอบหลักและหัวใจของระบบ มีหน้าที่ในกำเนิด คลื่นเสียงเพลง/เสียงดนตรี ผ่านสื่อประเภทแผ่น (CD) / ตลับ (TAPE Cassette) /คลื่นอากาศ (Radio) ปัจจุบันแหล่งต้นเสียงมักรวมการจัดการเสียงและการขยาย กำลังเสียง พร้อมกับชุดผ่านสัญญาณออก เพื่อนำไปใช้กับการจัดการ เสียง และ/หรือการขยายกำลังเสียงภายนอก สำหรับการปรับแต่ง ที่มากลักษณะกว่า รวมถึงกำลังขยายที่มากกว่า

วิทยุซีดีแผ่นเดียว (AM/FM CD Player)

  เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่น แผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง มีภาคขยายกำลังขับสูง (Hi-Power) ในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก บางรุ่นอาจควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้

วิทยุเทปคาสเส็ต (AM/FM Cassette Player)

   เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่นตลับเทป คาสเส็ต มีภาคขยาย กำลังสูงในตัว พร้อมช่อง ต่อผ่านสัญญาณออก บางรุ่นอาจควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้

วิทยุซีดี-เทปแบบ 2 ชั้น (2-DIN AM/FM/CD/Cassette Player)

   เครื่องเล่นที่มีความสูงเป็น 2 เท่าจากขนาดปกติ สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM เล่นแผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง เล่นตลับเทปคาสเส็ต มีภาคขยายกำลังสูงในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออกบางรุ่นอาจควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้

วิทยุซีดี/mp 3/วินโดว์ไฟล์/เอ็มดี แบบ 2 ชั้น (2-DIN AM/FM CD/MP3/WMA/MD Player)

   เครื่องเล่นที่มีความสูงเป็น 2 เท่าจากขนาดปกติ สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM เล่นแผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง, แผ่นบีบอัด MP3, แผ่นบีบอัดไฟล์ WMA เล่นแผ่นดิจิตอลขนาดเล็ก (MDMiniDisc)
มีภาคขยายกำลังสูงในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก บางรุ่นอาจสามารถควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้

วิทยุซีดี/mp 3/วินโดว์ไฟล์ แบบแผ่นเดียว (AM/FM CD/MP3/WMA Player)

   เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่นแผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง, แผ่นบีบอัด MP3, แผ่นบีบอัดไฟล์ WMA มีภาคขยายกำลังขับสูงในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก
บางรุ่นอาจควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้

วิทยุซีดีแผ่นเดียว พร้อมตัวประมวลเสียง (AM/FM CD player with AC-PROCESSOR II)

   เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่นแผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง พร้อมตัวประมวลผลเสียงแบบดิจิตอล มีภาคขยายกำลังขับสูงในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก
ในบางรุ่นอาจสามารถควบคุมตู้เชนเจอร์ได้ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้

วิทยุซีดี/เอ็มดี แผ่นเดียว (MD/CD Receiver)

   เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่นแผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง เล่นแผ่นดิจิตอลขนาดเล็ก มีภาคขยายกำลังขับสูงในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก บางรุ่นอาจสามารถควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้

วิทยุซีดี แบบ 3 แผ่น (3D Shuttle Tuner)

   เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่นแผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง บรรจุได้ครั้งละ 3 แผ่น พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก บางรุ่นอาจสามารถควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้

วิทยุซีดี มีฮาร์ดดิสก์ (4 ch Hi-Power CD/Receiver with Built-in Hard Disk Drive)

เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่นแผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง, แผ่นบีบอัด MP3 ทั้งสามารถบันทึกเพลงเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ภายในเครื่อง และรับข้อมูลจากสื่อบันทึกดิจิตอลอื่นๆ เช่น Memory Stick มีภาคขยายกำลังสูงในตัว พร้อมช่องต่อ ผ่านสัญญาณออก บางรุ่นอาจควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้

วิทยุซีดี/ดีวีดี/วีซีดี แบบแผ่นเดียว (4 ch Hi-power DVD/VCD/CD Receiver)

เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่นแผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง, แผ่นภาพดีวีดี (DVD), แผ่นภาพวีซีดี(VCD) มีภาคขยายกำลังสูงในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก ทั้งภาพ/เสียง บางรุ่นอาจสามารถควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกทั้งภาพ/เสียงได้

การปรับปรุงเครื่องเสียงรถยนต์

แนวทางการปรับปรุงเครื่องเสียงรถยนต์

แนวทางการปรับปรุง คุณภาพเครื่องเสียงจากเครื่องเสียงที่ติดมากับรถ หรือเพิ่มติดตั้งใหม่ ให้เสียงและมิติดีขึ้น ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ย่อมไม่อยู่นิ่งถ้ายังไม่ดีไม่ถูกใจ ก็อยากทำให้มันดีลงตัว ถ้าดีอยู่แล้วก็เกิดความอยากให้มันดียิ่งๆขึ้นไปอีก ตรงนี้ไม่ว่ากัน

เรามาดูเครื่องเสียงรถยนต์ในกรณีที่ซื้อรถใหม่มา

   อย่าเอะอะก็จะยกชุดเดิมถอดทิ้ง ปัจจุบันที่ติดมาจากโรงงานถือว่าค่อนข้างโอเค เลย คือ ทุ่ม กลาง แหลม ออกกันครบแทบจะทั้งหมดให้เป้นวิทยุ-ซีดี-เทปมา ลำโพงก็จะมีตั้งแต่ 1 คู่ถึง 2 คู่ ที่ถูกต้องคือ รื้อออกมาทั้งหมดแล้วติดตั้งใหม่ ใช้ สายดีๆทั้งสายไฟ, สายลบจากแบตลงดิน สายลำโพง ฟิวส์ โดยฟังทดสอบ ทิศทางสายว่าต้องติดอย่างไรกรณีติดลำโพงแผงหลัง ทำแผงใหม่ให้หนาแน่น มั่นคง กรณีดอกลำโพงเสียงแหลมถูกแยกออกจากเสียงดอกเสียงกลางทุ้มเกิน ครึ่งคืบ การย้ายมาวางชิดติดกัน (ส่วนมากเป็นคู่หน้า) เวลาฟังพยายามโยกฟัง ลำโพงคู่เดียว หน้าหรือหลังเพิ่มตัวเก็บประจุ 250,000 ไมโครฟารัดให้วิทยุ กรณีติดลำโพงที่ประตูหน้าก็เพิ่มแผ่นปะกันสะเทือนที่ประตูหน้า 
   ถ้าตัววิทยุปรับการติดตั้งให้อยู่ในแนวนอนราบที่สุดได้ (ไม่เชิดหน้า) ก็ควรทำอย่างยิ่ง หาของมาใส่อุดช่องรอบๆ ตัววิทยุ หรือ ช่องใส่ของที่ประตูป้องกันเสียงก้อง ปะแผ่นยางกันสะเทือนที่หลังกระจกมองหลังกันสั่น 
   ถ้าทำได้ทั้งหมด รับรองว่า ทั้งสุ้มเสียงและมิติเสียงจะดีขึ้นได้เ็ป็น 100% ทีเดียว ยิ่งถ้าขยันถอดอุปกรณ์บนแผงวงจรแบ่ง ความถี่เสียงของลำโพงมานั่งไล่ฟังทิศทางขาอุปกรณ์ (เฉพาะที่ไม่มีขั้ว หรือ Non polar เท่านั้น) ถ้าย้ายขดลวดบนแผงไป ไว้ใต้แผงได้ (หนีการไปรบกวนอุปกรณ์ชิ้นอื่น) ยิ่งดีใหญ่ (แผงหลัวที่ติดลำโพง  กรณีรถเก๋ง อย่าลืมยกแผงเอียง เพื่อให้ ลำโพงยิงเสียงมาหน้ารถ ลดการสะท้อนกับกระจกหลัง
   ไม่ใช่ว่าโรงงานรถยนต์เขาจะละเลย หากแต่บางครั้งในระบบการผลิตเยอะๆ แบบอุตสาหกรรม มันทำแบบที่เราพิถีพิถันอย่างนี้สุดๆ ไม่ได้
    บางทีก็แปลกใจเหมือนกันว่า ก็ในเมื่อร้านติดตั้งเองก็บ่นว่าร้านอื่นๆ ชอบขายของตัดราคาจนแทบไม่เหลือกำไร จึงน่าจะดีกว่าไหมถ้าบาง ร้านหันมารับปรับปรุงชุดที่มากับรถดังกล่าว อาจเสียเวลามากหน่อย (เรื่องฟังทิศทางอุปกรณ์ บนแผงวงจร) ในคันเเรก แต่คันต่อๆไปในรุ่น เดียวกันก็ทำได้ง่ายและเร็ว
    เมื่อเราเช็คทิศทางสายต่างๆ ฟิวส์ แผงดี ไว้หมดแล้ว ต่อไปจะเปลี่ยน วิทยุใหม่ หรือลำโพงใหม่ก็ง่ายและฟังออกได้ชัดว่า ดีขึ้นหรือแย่ลง กว่าของเดิม

การดัดแปลงเครื่องเสียงรถยนต์เพิ่มเติม 

  • ปลี่ยนใช้แบตที่ดีขึ้น ถ้ามีทุนก็เอาแบตไฮเอนด์ ลูกละหมื่นกว่าไปเลย ถ้างบจำกัดก็เอาแบบแห้งลูกละ สองพันกว่าบาท
  • ทำสวิซต์ตัดสายอากาศ เวลาฟัง CD มิติ น้ำเสียงจะดีขึ้น
  • เพิ่มตัวกรองไฟให้วิทยุ
  • ต้องการรับวิทยุดีขึ้น ก็ทำระบบเสาอากาศ 2 เสา มีสวิซต์เลือก เสาหนึ่งหน้ารถ อีกเสาหลังรถ (เสาแบบฝังในกระจก)
  • ถ้าจะฟังลำโพงแค่คู่เดียว ให้ตัดอีกคู่ออกไปเลย เอาสายออก อย่าตั้งไว้หลีกเลี่ยงปัญหาลำโพงที่ไม่ใช้ทำตัวเป็นไมโครโฟนรับ
    คลื่นเสียงภายนอกไปป่วนเครื่อง (ลดความคมชัดลง) แม้โยก Fader หนีเเล้ว
  • ทำแผงไม้หนาปิดช่องใส่ยางอะไหล่ในกระโปรงหลังรถเก่งแทนแผงบางที่สั่นเผยิบผยาบเวลารถวิ่งหรือเปิดเพลง
  • ถ้าตูดแม่เหล็กลำโพงติดสติกเกอร์ หรือ ลูกยางครอบให้ลอกหรือถอดออกให้หมด
  • ถ้าทำได้ห้อยแผงหลังวงจรลำโพง หนีการสั่นกวนจากลำโพง เสียงจะหลุดลอยออกมาอีกมากพอควร (มันแกว่งสั่นตามรถวิ่งไม่
    เป็นไร เพราะคนละจังหวะกับเสียงเพลง แค่อย่าให้ช็อตก็เเล้วกัน)

  • บางครั้งตัววิทยุเอง ภาคขยาย 4 CH เครื่อง เป็นไปได้ที่จะพบว่า CH หน้าซ้ายเสียงหลุดลอยเป็นตัวๆดี แต่ขวาหน้าเสียง แบนจม CH หลังซ้าย เสียงแบนจม แต่ขวาหลังเสียงหลุดลอยเป็นตัวดี กรณีเช่นนี้ต้องต่อลำโพงเข้าหน้าซ้าย ลำโพงขวา เข้าหลังขวา และปรับโยคเสียงหน้าหลัง ( Fader) มาที่ตรงกลาง Fader จะกลายเป็นปรับซ้าย-ขวา แทนบาลานท์ กรณีจะ เล่นลำโพงได้แค่คู่เดียว แม้แต่วิทยุ-CD ซื้อเพิ่มทั่วไป ก็เคยพบว่ามีปัญหานี้เหมือนกันแต่ยังน้อย
  • พยายามอย่าใช้รีโมทไร้สาย พวกนี้ป่วนคุณภาพเสียง
  • กรณีวิทยุ CD/DVD 2 DIN มีจอ LCD ด้วย ถ้าเน้นคุณภาพสุดๆ ไม่เน้นดูหนัง สิ่งแรกที่ควรยกเปลี่ยนคือวิทยุ เปลี่ยนเป็น
    วิทยุ CD ปกติ (ขอแนะนำให้หารุ่นที่มีช่อง USB ด้วย เพื่อบันทึกลง USB นำมาเปิดในรถ ถ้าบันทึกเนี้ยบสุด มีสิทธิ์ เสียง มิติดีกว่าฟังจาก CD ในรถ ) จอ LCD เป็นตัวป่วนบั่นทอนคุณภาพเสียงได้ถึง 25 %
  • ปะยางกันสะเทือนที่โครงดอกลำโพง แต่อย่าปะที่ตูดแม่เหล็ก เพื่อลดการสั่นกวน เพิ่ม
    การสวิง ดัง-ค่อย ความชัดกระจ่าง การหลุดลอยออกมาของมิติ
  • ให้เปลี่ยนตัววิทยุก่อนเปลี่ยนลำโพง
  • ถ้าสายลำโพงเดิมใช้หัวเสียบกับดอกลำโพง ให้เปลี่ยนใช้บัดกรีแทนเสียงจะสวิงดีขึ้น สงัดขึ้น
  • ถ้อชอบฟังดังมาก จึงค่อยเพิ่มแอมป์ หลังจาก เปลี่ยนลำโพงแล้วและไหนๆ จะเพิ่มแล้วให้หนีไปที่
    กำลังขับมากที่สุด เท่าที่งบสู้ไหว (ควรมากกว่า 20 RMS/ข้างที่ 4 โอห์ม) กำลังขับยิ่งเยอะ แม้เราไม่เร่ง
    จนแสบหู แต่จะให้เสียงมีแรงอัดฉีด (IMPACT) หรือ
    แรงปะทะมีแรงวัตต์ต่ำ สายสัญญาณเสียงไปแอมป์ ต้องฟังทดสอบหัวท้าย อย่าเชื่อลูกศรที่สกรีนมาที่ สาย แล้วแยกสายซ้ายหนีจากสายขวา อย่าให้แตะ ต้องกันเวทีเสียงจะหุบ เสียงละมั่งเวลาดนตรีหลาย ชิ้น